แหล่งข้อมูลอัพเดทกระแสเทรนด์แฟชั่นใหม่ ๆ บล๊อกเกอร์บิวตี้ แนะนำเครื่องสำอางที่เป็นแบรนด์ชั้นนำ ข่าวสารของมงคลที่กำลังฮิต มีอัพเดทข่าวสารที่น่าสนใจ

เทรนด์ใส่เสื้อผ้าซ้ำ คนรุ่นใหม่ที่มองเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เริ่มออกมาช่วยกันรณรงค์

เทรนด์ใส่เสื้อผ้าซ้ำ

เทรนด์ใส่เสื้อผ้าซ้ำ ลดการซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่ ๆ ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม

เทรนด์ใส่เสื้อผ้าซ้ำ ยุคปัจจุบัน​นี้จะเห็นได้ว่าในโซเชียล จะมีเทรนด์หนึ่ง​ที่คนรุ่นใหม่กำลังพูดถึงกัน ให้ผู้คนกลับมาใส่เสื้อผ้าตัวเดิม ๆ ในตู้ เป็นการงดซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่ ๆ ลง เพราะว่าในสมัยนี้เทรนด์สินค้าแบบ Fast Fashion กลายเป็นเรื่องที่กำลังเป็นกระแส

ตอนนี้เสื้อผ้าหลายแบรนด์ ได้พากันออกคอลเลกชันใหม่ ๆ อยู่ตลอด โดยส่วนใหญ่ก็มีการออกคอลเลกชันใหม่ ๆ มากขนาดอาทิตย์ละครั้งเลยทีเดียว

ไม่เพียงเท่านั้นยังมาในราคาที่เอื้อมถึง เพราะว่าไม่ได้เน้นคุณภาพมาก ซึ่งเน้นที่การผลิตอันรวดเร็ว และทันต่อกระแสแฟชั่นในตอนนั้น มากกว่าและพอเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ บวกกับเทรนด์โซเชียลมีเดีย ได้กลายเป็นเรื่องที่ สนับสนุนกันได้อย่างดี

เนื่องจากคนสมัยนี้ต่างแชร์ภาพถ่าย ของตัวเองลงบนโซเชียล ซึ่งเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ มีความพยายามสร้างภาพลักษณ์ดี ๆ ให้กับตนเองส่งผลให้หลายครั้ง มีความตั้งใจให้ภาพสวย ๆ โดยการสวมชุดใหม่ ๆ อยู่เสมอถ้าหากไม่ได้คิดอะไรมาก ปัญหานี้อาจจะดูเป็นคิดว่าแค่ปัญหาเสื้อผ้าเต็มตู้

ซึ่งเหตุผลที่แท้จริง ปัญหาเสื้อผ้าล้นตู้ ได้มีผลกับสิ่งแวดล้อมมากกว่านั้น อย่างเช่นเรื่อง ปัญหาทรัพยากร ปัญหาอุตสาหกรรม และ ปัญหาสุขภาพจิต

ปัญหาเสื้อผ้าล้นตู้

ทราบกันหรือไม่ว่า ธุรกิจแบรนด์ Fast Fashion ผลิตเสื้อผ้ามากถึง 89,000 ล้านตันต่อปี

ถ้าหากคิดถึงปริมาณการผลิต มากมายมหาศาลขนาดนี้ นั่นหมายถึงจะต้องใช้ กำลังการผลิตสูง

ในเรื่องโรงงาน รวมถึงแรงงานในการผลิต ซึ่งอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเหล่านี้ เรียกได้ว่าสร้างมลพิษมากมาย ไม่ว่าจะเป็นควันปล่อยจากโรงงาน เรื่องการปล่อยน้ำเสีย อีกทั้งยังมี ขยะที่มาจากการผลิตอย่างเศษผ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะใช้ระยะเวลา

กว่าจะย่อยสลายที่ค่อนข้างนาน บางประเภทหลายเดือน และบางประเภทใช้เวลาหลายปี ไม่เพียงเท่านั้น หลายคนจะเห็นได้ว่าเสื้อผ้าหลายแบรนด์ จำหน่ายเสื้อผ้าราคาถูกมาก เช่นบางแบรนด์ที่มีเสื้อผ้าหลักสิบบาทเท่านั้น โดยการที่แบรนด์มีราคาสินค้าที่ถูกขนาดนี้ นั่นอาจจะเป็นเพราะใช้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพ หรือมีเรื่องของการเอาเปรียบแรงงาน

มีการสำรวจของเว็บไซต์ Fashion Checker ปี 2020 มีการเผยข้อมูลที่น่าสนใจ ว่าจากผลสำรวจ 270 แบรนด์เสื้อผ้านั้น กว่า 95% มีการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม จ่ายค่าจ้างน้อยกว่าแรงงานขั้นต่ำ เรื่องนี้ทำให้ผู้คนสรุปได้อีกว่า Fast Fashion ไม่เพียงจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่กระทบไปถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนอีกด้วย

อย่างไรก็ตามปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาสิทธิมนุษยชน ยังเป็นสิ่งที่หลายคนได้ออกมาแสดงออกกันมานาน แต่ด้วยกระแสของแฟชั่น ที่ผู้คนส่วนใหญ่ยังทำไม่ได้ จึงทำให้เรื่องราวเหล่านี้ยังไม่ได้รับความร่วมมืออีกทั้งมีค่านิยมเรื่อง “การไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำ

เทรนด์ใส่เสื้อผ้าซ้ำ

ผลสำรวจของ The Guardian เมื่อปี 2019 ออกมากล่าวว่า 1 ใน 3 ของเด็กสาววัยรุ่น

นั้นสวมเสื้อผ้า 1 ตัวแค่ 1-2 ครั้งเท่านั้น เนื่องจากมองว่าเสื้อมันเก่าแล้ว และนี้ก็คือสาเหตุที่ทำให้ส่วนหนึ่งส่งผลให้มี ค่านิยมเช่นนี้ก็คือโซเชียลมีเดีย ที่ส่งผลให้คนส่วนใหญ่มีความต้องการจะแชร์ภาพลักษณ์ของตัวเอง ว่ามีการใช้ชีวิตที่ดูดีอยู่ตลอดเวลา

ด้วยการที่มีมุมมองนี้มาเจอกับราคาเสื้อผ้า ที่สามารถเอื้อมถึงมากมายของ Fast Fashion ส่งผลให้ผู้คนตัดสินใจได้ง่าย ที่จะซื้อเสื้อผ้ามาใหม่และซื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ธุรกิจเสื้อผ้า Fast Fashion มียอดขายเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี

แต่อย่างที่รู้กันว่า แฟชั่น นั้นไม่ได้มีแค่เสื้อผ้าเท่านั้น ยังคงมีสินค้าประเภทอื่น อย่าง กระเป๋าหนัง ถือว่าเป็นสินค้าที่เรียกได้ว่ามี กระบวนการผลิตที่ไม่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมแล้ว

เรื่องของปศุสัตว์ ที่เป็นต้นกำเนิดของวัตถุดิบ นั้นยังทำร้ายสัตว์และสร้างมลภาวะอีกด้วย ด้วยเหตุผลนี้ มีอีกแง่มุมหนึ่ง ก็ได้มีหลายคนที่แสดงถึงการทางออก จากเรื่องเหล่านี้ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นธุรกิจแฟชั่น อีกมากมายหลายแบรนด์ ที่ได้แสดงออกในการแก้ปัญหาความรุนแรงจากธุรกิจแฟชั่น อย่าง แบรนด์เสื้อผ้า PANGAIA เป็นแบรนด์ที่ผลิตมาจากห้องแล็บวิทยาศาสตร์

เรียกได้ว่าคือ แบรนด์แฟชั่น ่เสนอจุดขาย ในเรื่องของความยั่งยืน ซึ่งการนำเรื่องวิทยาศาสตร์เข้าผสมผสาน โดยมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า C-FIBER ออกแบบเสื้อยืดเส้นใยสาหร่ายแทนเส้นใยฝ้าย ซึ่งการนำสาหร่ายที่มาจากใต้ทะเล จึงไม่พึ่งพาการใช้น้ำจืดปลูก ซึ่งช่วยเรื่องปัญหาการใช้ทรัพยากรน้ำปริมาณมาก ในการเพาะปลูกฝ้าย

แบรนด์ Girlfriend Collective คือธุรกิจเสื้อผ้าใส่ออกกำลังกาย ได้มีการนำขวดพลาสติกที่ถูกทิ้ง เอามาแปรเปลี่ยนโดยใช้แทนฝ้าย ไม่เพียงเท่านั้นมีการเอาวิธีการผลิตมาตรฐาน SA8000 ที่เป็นเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการออกใบรับรองจาก Social Accountability International (SAI) ที่เป็นองค์กรคุ้มครองเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะแรงงาน ป้องกันถูกนายจ้างกดขี่

แบรนด์ Freitag แบรนด์ที่ได้เอาผ้าใบรถบรรทุก รวมถึงสายรัดนิรภัย มาออกแบบเป็นกระเป๋า ถือว่าเป็นแบรนด์สตรีตแฟชั่น ที่มุ่งเน้นเอาของที่ใช้แล้วมารีไซเคิล ซึ่งเรื่องนี้ได้กลายเป็นจุดขาย เพราะทำให้กระเป๋าแต่ละใบไม่เหมือนกัน พูดได้ว่ามีใบเดียวในโลก

นอกจากนั้นมีแบรนด์ที่ได้เลือก การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อช่วยลดปัญหาบางแบรนด์ เช่นมีแนวทางในลดการซื้อ เสื้อผ้าของผู้คนแทน อย่าง Style Theory สตาร์ตอัปที่เป็นธุรกิจเช่าชุดแบบ Subscription มีความตั้งใจอยากให้ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรม ที่มีความต้องการซื้อชุดบ่อย ๆ หันมาเช่าชุดแทน

เทรนด์ใส่เสื้อผ้าซ้ำ

เทรนด์ใส่เสื้อผ้าซ้ำ แก้ปัญหาปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะความต้องการที่อยากใส่ชุด เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้เอง การที่ผู้คนได้ตระหนัก ให้ความสนใจกับปัญหา ของธุรกิจแฟชั่น ก็ยังส่งผลให้ตลาดสินค้ามือสอง มียอดขายที่เพิ่มมากขึ้น

เพราะว่า สินค้ามือสอง นั่นได้กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในเรื่องของราคาที่ไม่แพง อีกทั้งจะเป็นการทำให้สินค้า ถูกใช้งานได้คุ้มค่าที่สุด ถึงแม้ว่าปัจจุบันธุรกิจ Fast Fashion จะยังคงมีอยู่ในสังคม และมีการขยายตลาดขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่า

ผู้คนนั่นจะให้ความสนใจกับแรงกระตุ้น รวมถึงต้องตามแฟชั่นให้ทันสมัย ตามกระแสการตลาดของแบรนด์ หรือถ้าหากมีความต้องการซื้อจริง ๆ ให้มองหาวิธีการอื่นๆ เช่นการขายต่อ หรือบริจาค

ทำให้สินค้าที่เราได้ซื้อมานั้น ได้ใช้งานสูงสุดเท่าที่จะทำได้ เสื้อผ้าทุก ๆ ชิ้นที่ผู้คนซื้อนั้น ได้ผ่านวิธีการผลิตมากมาย กว่าจะมาวางจำหน่าย โดยในวิธีการเหล่านั้น เต็มไปด้วยแรงงาน และทรัพยากรของทั้งวัตถุดิบ รวมถึงมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม

เทรนด์ใส่เสื้อผ้าซ้ำ

Fast Fashion เป็นการดีไซน์เสื้อผ้า ที่ได้นำสไตล์มาจากแฟชั่นโชว์

นั้นคือผู้มีชื่อเสียงที่ใส่ออกงาน หรือลงในสื่อโซเชียลต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้การผลิตเสื้อผ้า ออกมาโดยรวดเร็ว เพื่อให้ทันเทรนด์แฟชั่น ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนั้น ๆ ให้ทัน

โดยผู้คนก็จะสามารถ หาซื้อเสื้อผ้าใหม่ ๆ ได้อยู่เสมอ เนื่องจากแบรนด์เหล่านี้จะผลิตเสื้อผ้าใหม่ให้ลูกค้าหาซื้อได้หลายครั้งต่อปี ซึ่งทั่วไปแล้วยังมีการตั้งราคาที่ไม่สูงมากนัก

โดยเฉพาะยุคนี้ที่ได้มีเทคโนโลยีทางการผลิตใหม่ ๆ ต้นทุนต่ำลงอีกทั้งยังออกแบบเพื่อผลิตได้อย่างรวดเร็วมากกว่าเดิม มีผลให้การตอบสนอง ต่อความต้องการของลูกค้า คือเรื่องที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้ โดยรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

มีการวิจัยจาก YouGov เปิดเผยว่า ในประเทศไทย 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้คน ไม่ใส่เสื้อผ้าซึ่งมีการใส่เพียงครั้งเดียว และผู้คนจำนวน 1 ใน 5 ทิ้ง เสื้อผ้าที่ไม่ใส่แล้ว เหมือนขยะ มากกว่าจะคิดหาวิธีเคลียร์ตู้เสื้อผ้า เช่น เอาไปบริจาค การรีไซเคิล หรือเอาไปขายต่อเป็นเสื้อผ้ามือสอง

ไม่เพียงเท่านั้นยังพบว่า 1 ใน 3 ของคนไทยพวกที่เป็นคนร่ำรวย ทิ้งเสื้อผ้าด้วยเหตุผลเพียงเพราะเบื่อแล้ว หากจะคิดดูแล้วว่า การที่ผู้คนทิ้งเสื้อผ้ากันอย่างมากมาย เพราะสาเหตุมากจากการมองเสื้อผ้า คือสินค้าที่หาซื้อได้ตลอดเวลา เพราะมีราคาที่ไม่แพง และมีแบบออกมาใหม่อยู่ตลอด

แท้จริงแล้วการสวมเสื้อผ้าซ้ำ ๆ คงไม่ใช่เรื่องแปลก หากเรามองอีกมุมเพราะการที่เอา ชุดเดิม ๆ ที่เรามีอยู่ ถ้าได้มาปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นสไตล์ใหม่ ๆ ได้ อีกทั้งเรียกได้ว่าเป็นการใส่ที่แปลกไปจากเดิม ซึ่งเรื่องใส่เสื้อซ้ำไม่ใช่เรื่องที่น่าอายเช่นกัน

เรียบเรียงโดย อลิส